วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

สถิติและผลการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติและผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. เปรียบเทียบปัจจัยด้านเพศ ระดับชั้น สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง ช่องว่างระหว่างวัย สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ประเภทโรงเรียน และอิทธิพลจากสื่อเกี่ยวกับการคบเพื่อนต่างเพศ กับเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษา

3. วิเคราะห์ปัจจัย ระดับชั้น สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองช่องว่างระหว่างวัย สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ประเภทโรงเรียน และอิทธิพลจากสื่อเกี่ยวกับการคบเพื่อนต่างเพศ ที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย

4. วิเคราะห์ปัจจัย ระดับชั้น สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง ช่องว่างระหว่างวัย สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ประเภทโรงเรียน และอิทธิพลจากสื่อเกี่ยวกับการคบเพื่อนต่างเพศ ที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง

5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
_5.1 สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
_5.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ ได้แก่
____5.2.1 การหาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถาม โดยใช้เทคนิค
25% กลุ่มสูง-กลุ่มต่ำ แล้วทดสอบด้วย t-test
____5.2.2 การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยการหาค่า
สัมประสิทธิ์แอลฟ่า (α - Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach)
_5.3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สมมติฐาน ได้แก่
____5.3.1 เปรียบเทียบ ปัจจัยด้านเพศ ระดับชั้น สัมพันธภาพระหว่าง
ผู้ปกครองกับนักเรียน ช่องว่างระหว่างวัย สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ประเภทโรงเรียน และอิทธิพลจากสื่อเกี่ยวกับการคบเพื่อนต่างเพศ ของนักเรียนมัธยมศึกษา โดย
_____5.3.1.1 ตัวแปรด้านเพศ เปรียบเทียบโดยใช้ t-test เพื่อ
ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1
_____5.3.1.2 ตัวแปรด้าน ระดับชั้น สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง ช่องว่างระหว่างวัย สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ประเภทโรงเรียน และอิทธิพลจากสื่อเกี่ยวกับการคบเพื่อนต่างเพศ เปรียบเทียบโดยใช้ one-way anova เพื่อทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2-7
_____5.3.1.3 วิเคราะห์ ปัจจัย ระดับชั้น สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง ช่องว่างระหว่างวัย สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ประเภทโรงเรียน และอิทธิพลจากสื่อเกี่ยวกับการคบเพื่อนต่างเพศ ที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชายและเพศหญิง โดยการใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter และ Stepwise โดยมีการใช้เทคนิคตัวแปรหุ่น (Dummy Variables) เพื่อให้ข้อมูลมีลักษณะสอดคล้องกับข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทดสอบสมมติฐานข้อที่ 8 - 11

สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. นักเรียนมัธยมศึกษาเพศชายมีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนมัธยมศึกษาที่ศึกษาในโรงเรียนชายล้วน มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศสูงกว่า นักเรียนมัธยมศึกษาที่ศึกษาในโรงเรียนหญิงล้วนและโรงเรียนสหศึกษา และนักเรียนมัธยมศึกษาที่ศึกษาในโรงเรียนสหศึกษา มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศสูงกว่า นักเรียนมัธยมศึกษาที่ศึกษาในโรงเรียนหญิงล้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีช่องว่างระหว่างวัยกับผู้ปกครองในระดับ มาก ปานกลาง และน้อย มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศไม่แตกต่างกัน

5. นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองในระดับปานกลางมีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศสูงกว่านักเรียนมัธยมศึกษาที่มีสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองในระดับสูงและต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

6. นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อนในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศไม่แตกต่างกัน

7. นักเรียนมัธยมศึกษาที่รับสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และอินเตอร์เน็ต มีเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

8. ปัจจัยทางชีวสังคมร่วมกันทำนายเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย ได้ร้อยละ 37.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

9. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย มี 4 ปัจจัยโดยเรียงลำดับจากตัวแปรที่ส่งผลมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ระดับชั้น สื่อโทรทัศน์ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย ได้ร้อยละ 36.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนำค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ มาเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

สมการพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย โดยใช้คะแนนดิบได้แก่
^
Y = 2.20 +.13(GR) + .26(MD4) + .23(FR) - .23(PR)

สมการพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศชาย โดยใช้คะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = .40(GR) + .22(MD4) + .24(FR) - .23(PR)

10. ปัจจัยทางชีวสังคมร่วมกันทำนายเจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง ได้ร้อยละ 36.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

11. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง มี 3 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากตัวแปรที่ส่งผลมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง ระดับชั้น และโรงเรียนสหศึกษา ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง ได้ร้อยละ 34 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนำค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง โดยใช้คะแนนดิบ ได้แก่
^
Y = 3.23 - .27(PR) +.10(GR) -.27(SC1)

สมการพยากรณ์เจตคติในการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาเพศหญิง โดยใช้คะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = -.34(PR) + .32(GR) - .25(SC1)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น